บทนำ

บทนำ
ความเป็นมาของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก พร้อมกันนี้ได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของต้องการของท้องถิ่น
จากการวิจัย และติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรในช่วงระยะ 6 ปีที่ผ่านมา พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดดีหลายประการ เช่น ช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษาทำให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และมีแนวคิดและหลักการในการส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาดังกล่าวยังได้สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นที่เป็นปัญหาและความไม่ชัดเจนของหลักสูตรหลายประการทั้งในส่วนของเอกสารหลักสุตร กระบวนการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติและผลผลิตที่เกิดจากการใช้หลักสูตร ได้แก่ ปัญหาความสับสนของผู้ปฏิบัติในระดับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดสาระและการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้มาก ทำให้เกิดปัญหาหลักสูตรแน่น การวัดและประเมินผลไม่สะท้อนมาตรฐาน ส่งผลต่อปัญหาการจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาและการเทียบโอนผลการเรียน รวมทั้งปัญหาคุณภาพของผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์อันยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
นอกจากนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพคนในสังคมไทยให้มีคุณธรรม และมีความรอบรู้อย่างเท่าทัน ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่าง สติปัญญา อารมณ์ และศีลธรรม สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่นคง แนวการพัฒนาคนดังกล่าวมุ่งเตรียมเด็กและเยาวชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ พร้อมทั้งมีสมรรถนะ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสรมผู้เรียนให้มีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการวิเคราะห์ สร้างสรรค์มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ
จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่ผ่านมา ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 21 จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับ นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผล เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษา ให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติ
เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นี้ จัดทำขึ้นสำหรับท้องถิ่นและสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับเห็นผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนตลอดแนว ซึ่งจะสามารถช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำหลักสูตรในสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการแก้ปัญหาหลักสูตรทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับสถานศึกษา จะต้องสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังได้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ในการวางแผนดำเนินงาน ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้


ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรจะรวมไปถึงการพัฒนาเนื้อหาวิชาที่จะต้องสอน และเนื้อหาวิชาในตำราที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนด้วย งานของการพัฒนาหลักสูตรอาจกล่าวได้ว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร ครูผู้สอน และนักวิชาการในการจัดวางเนื้อหาวิชา ร่วมกันทำการพัฒนาหลักสูตรโดยการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงและจัดดำเนินไปด้วยดีและได้ผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
- มีความสามารถเกี่ยวกับทักษะในด้านต่าง ๆ เด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อเรียนจบหลักสูตรมัธยมศึกษาแล้วมีความคิดริเริ่มเป็นอย่างดี
- มีความรู้พอที่จะศึกษาต่อในชั้นสูงได้ เด็กย่อมจะมีความรู้ความสามารถพอที่จะเรียนในชั้นสูงและมีความสนใจในด้านการเรียนพอสมควร ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นที่จะต้องเน้นให้เด็กได้มีความรู้เบื้องต้น
- ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม ในระหว่างที่เด็กศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนนั้นๆ กิจกรรมต่างๆ และการเรียนรู้ทางวิชาการภายในโรงเรียนจะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองของชาติและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รู้จักประพฤติและปฏิบัติตนให้ถูกต้อง
- มีจิตใจและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีการพัฒนาหลักสูตรมุ่งที่จะพัฒนาเด็กในด้านร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง มีความรู้และทักษะต่างๆ
- มีความเข้าใจและรักษาความงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในเมืองหลวงไม่คุ้นเคยกับธรรมชาติการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นที่จะให้เด็กเรียนรู้เกียวกับธรรมชาติที่สวยงามเห็นคุณค่าของธรรมชาติ
- มีวัฒนธรรมและศิลธรรมที่ดีงาม โดยมัวัฒนธรรมที่ถูกต้อง รู้จักประพฤติในสิ่งที่ดีมีความรับผิดชอบ รู้จักกาละเทศะ และประพฤติในสิ่งที่สังคมยกย่องว่าดีงามควรกระทำ รวมทั้งมีจิตใจที่เมตตากรุณาต่อผู้อื่น
- มีความสนใจและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว การพัฒนาหลักสูตรจะเป็นการส่งเสริมความรู้และความสามารถโดยเฉพาะของเด็ก โดยการจัดโปรแกรมการเรียน การสอน และหลักสูตรให้สอดคล้องตามความต้องการและความสามารถของเด็กสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ผลดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์การพัฒนาหลักสูตร
คุณลักษณะของผู้เรียนและเป้าหมายในแต่ละระดับการศึกษา ประถมศึกษา : พัฒนาตนแล้วรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม อ่านออกเขียนได้ คำนวณได้เข้าใจธรรมชาติ บำรุงรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตน วิเคราะห์เหตุผลและเสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว ไม่เอาเ ปรียบผู้อื่นรักการอ่านและแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ทำงานร่วมกับคนอื่นได้รักการทำงานและทำงานเป็น รู้เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่บ้านสามารถปฎิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ ในฐานะสมาชิกที่ดีของบ้านตลอดจนอนุลักษ์สิ่งแววดล้อม , ศาสนา , ศิลป , วัฒนธรรม ในชุมชนรอบๆบ้าน
มัธยมศึกษาตอนต้น : แสวงหาแนวทางที่เหมาะสมกับตนในการทำประโยชน์ให้สังคม มีความรู้และทักษะในวิชา สามัญเข้าใจและติดตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการต่างๆ เสริมสร้างสุขภาพอนามัยส่วนตนและชุมชน เสนอแนวทางเลือกหลากหลายในการแก้ปัญหาของชุมชนได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ปรับปรุงการปฎิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้รักการทำงานและรู้กระบวนการจัดการ เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมในชุมชนและสามารถเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนภูมิใจในการปฎิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีของชุมชน ตลอดจนอนุลักษ์สิ่งแวดล้อม , ศาสนา , ศิลป , วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนของตน
มัธยมศึกษาตอนปลาย : ลงมือทำประโยชน์ให้สังคมตามความสามารถของตน มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญเฉพาะด้านและรอบรู้ทันคความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งเสริมการอนามัยชุมชนและการเสริมสร้างสุขภาพ วางแนวปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหาของสังคมได้ ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ใช้แนวทางและวิธิการใหม่ๆในการปฎิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้รักการทำงานมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต เข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเทศและโลกมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศและเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตนตลอดจนอนุลักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม , ศาสนา , ศิลป , วัฒนธรรมของประเทศ.