สรุปอภิปรายและข้อเสนอแนะ

สรุปและอภิปรายข้อเสนอแนะ







หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของชาติ ถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างคนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันในเวทีโลก ไม่ว่าจะหลักสูตรใดก็ตาม หากนำไปใช้แล้วพบว่ามีข้อจำกัดบางประการก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่มีอยู่ให้ดีขึ้นเพราะการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่จะพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้และคุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น อ้างอิงจากเว็บไซต์ ( http://fin.in.th/archives/777).
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหลักสูตร
แกนกลาง 51 เป็นหลักสูตรที่ปรับปรุงมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2544 เพื่อให้หลักสูตรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและยึดหลักผู้เรียนเป็น
สำคัญที่จะพัฒนาให้นักเรียนมีวินัยและมีความเป็นผู้นำมากขึ้น
หลักสูตรในแต่ละโรงเรียนหรือแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งนั้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะแต่ละโรงเรียนว่าจะจัดหลักสูตรอย่างไรก็ได้ แต่ต้องยึดหลักสูตรแกนกลางเป็นสำคัญ โรงเรียนใดไม่มีหลักสูตรโรงเรียนนั้นก็จะเป็นโรงเรียนที่ไม่มีความเจริญและไม่มีคุณภาพทางการศึกษา ฉะนั้นแต่ละโรงเรียนจะต้องมีหลักสูตรของตนเองใช้จึงจะได้เป็นโรงเรียนที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพทางด้านการศึกษา


5.1 สรุปผลที่ได้จากการจากการศึกษาค้นคว้า
1.ได้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรมากยิ่งขึ้น จากที่เราไม่เคยมีพื้นฐานเลยเกี่ยวกับหลักสูตรว่าหลักสูตรมีความสำคัญอย่างไร มี ลักษณะเป็นอย่างไรหรือมีรูปเล่มของหลักสูตรว่าเป็นเช่นไร
-ที่มาของหลักสูตร
-เนื้อหาของหลักสูตร
-วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-ความสำคัญของหลักสูตร
-ข้อดี ข้อเสียของหลักสูตร
-เมื่อนำมาใช้แล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร
2.ได้ประสบการณ์ในการลงพื้นที่ในการศึกษาหลักสูตรของสถานศึกษาจริง ซึ่งกลุ่มของดิฉันไม่เคยลงพื้นที่มาก่อนเลย
-ความสามัคคีภายในกลุ่ม
-ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
-อุปสรรคในการเดินทางจากการที่แสนลำบาก แต่เราสามารถฝ่าฟันได้เพราะความสามัคคีของคนในกลุ่ม
3.ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรเพราะหลักสูตรเป็นหัวใจของสถานศึกษา หากโรงเรียนใดไม่มีหลักสูตรใช้ โรงเรียนนั้นก็ถือว่าเป็นโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพทางการศึกษา
-เรียนรู้ข้อแตกต่างแตกต่างระหว่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551ว่ามีความแตกต่างอย่างไร
-ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างลึกซึ้งเพราะหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญ
สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่จะต้องเรียนรู้และนำไปใช้ในอนาคต
4.ได้เรียนรู้วิธีการสอนของครูว่าจะสอนอย่างไรจึงทำให้เด็กมีความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้ในวิชานั้นๆ
-การให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนเพื่อให้เด็กกล้าแสดงออก
-วิธีการสอนของครูที่ทำให้เด็กชอบ อยากที่จะเรียน
- การพูดจาของครูที่มีต่อเด็ก
-การใช้กระดานในการสอนว่าต้องใช้อย่างไรที่จะทำให้เด็กดูแล้วไม่สับสนหรือน่าเบื่อ
5.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่และการทำกิจกรรมของนักเรียนว่าเป็นอย่างไร
-การพูดจาของเด็กต่ออาจารย์ผู้สอน
-มารยาทของเด็กที่แสดงออก ส่วนใหญ่เด็กมีมารยาทดีและพูดจาไพเราะ กล้าแสดงออก
-ความเคารพ นับถือของนักเรียนที่มีต่อครู อาจารย์เพระนักเรียนจะต้องมาทำความสะอาดห้องพักครูทุกวันตามเวรที่ได้กำหนดไว้
-ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักเรียน ทั้งในด้านการเดินและการรับประทานอาหาร
-นักเรียนมีความแสดงออกในการทำกิจกรรมต่างๆทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
-ความร่วมมือและสามัคคีต่อการทำกิจกรรมกลุ่ม
5.2 ผลที่ได้จากการศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน มีความสอดคล้องของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 อย่างไร
จากการที่ได้ไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสงเคราะห์ ปรากฏว่าหลักการหรือทฤษฎี ของโรงเรียนมีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นหลักพื้นฐาน พ.ศ.2551 เพราะทางโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จะยึดหลักสูตรแกนกลาง 51ในการเรียนการสอน
แต่เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางฯ 51 ทางโรงเรียนพึ่งได้นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน
ตัวหลักสูตรของโรงเรียนก็ยังไม่เป็นรูปเล่ม ครูและนักเรียนก็ยังไม่ชินกับหลักสูตรใหม่อีก
เมื่อทางโรงเรียนเริ่มที่จะชินกับหลักสูตรเก่าก็เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ทางโรงเรียนต้องทำความเข้าใจกับหลักสูตรใหม่และจัดแนวการเรียนการสอนตามหลักสูตรนั้น เพื่อพัฒนาให้เด็กได้มีความรู้และส่งเสริมให้เด็กกล้าที่จะแสดงออกและเพื่อสร้างให้เด็กเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขและมีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันในเวทีโลก อีกทั้งยังช่วยยกระดับทางการศึกษาของโรงเรียนให้เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับคุณภาพในการศึกษาให้กับโรงเรียน ได้ดียิ่งขึ้น.
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้ผลการศึกษาค้นคว้า
(ให้เสนอแนะในประเด็นที่ได้จากการผลศึกษาค้นคว้าว่า เสนอแนะว่าโรงเรียนควรดำเนินการอย่างไร ในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร)
สำหรับในส่วนที่โรงเรียนยังไม่ได้มีการดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตรอาจมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้โรงเรียนไม่สามารถดำเนินการได้ในทันที เช่นในเรื่องของตัวหลักสูตร จากที่ได้ไปศึกษาหลักสูตรของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาสพบว่าตัวหลักสูตรของโรงเรียนยังไม่ได้มีการจัดเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ซึ่งทางโรงเรียนได้บอกว่าเนื่องจากหลักสูตรมีการเปลี่ยนบ่อยจึงไม่สามารถรวมเป็นเล่มสมบูรณ์ได้ สำหรับข้อเสนอแนะ คือ โรงเรียนควรมีการประชุมบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องว่าควรมีวิธีแก้ไขในส่วนนี้อย่างไร
5.3.1 ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาค้นคว้าในครั้งต่อไป
ให้เด็กมีนักเรียนมีส่วนร่วม เช่น สัมภาษณ์ตัวแทนของนักเรียนว่า
นักเรียนในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนอย่างไร
บ้าง และนักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับหลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียน
และหลักสูตรมีผลอย่างไรบ้างกับตัวเด็ก และสัมภาษณ์คนในชุมชนบริเวณ
ใกล้เคียงมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรอย่างไรบ้างและคนในชุมชนเห็น
ด้วยหรือไม่กับหลักสูตรปัจจุบันที่ใช้ในโรงเรียน


                                                
คลิ๊กดูรูป