ผลการวิจัย






 ผลการศึกษาค้นคว้า
         1.อาจารย์ประจำรายวิชาที่สอนได้ส่งหนังสือไปยังโรงเรียนแต่ละโรงเรียนที่นักศึกษาได้คัดเลือกมา เพื่อให้นักศึกษาได้ไปศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนแต่ละโรงเรียน
        2.กำหนดการของการลงพื้นที่ไปศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา   คือ วันที่ 11  มกราคม   พ.ศ. 2554 โดยสถานศึกษาที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้เลือกลงพื้นที่ไปศึกษา คือ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 
        3.กลุ่มของข้าพเจ้าได้เดินทางโดยรถไฟ   ใช้เวลาในการเดินทางร่วมเวลา  4 ชั่วโมง ไปถึงสถานีปลายทาง คือ  สถานีโกลก เวลา  11.00 น.
        4.เมื่อไปถึงโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ทางคณะอาจารย์ได้มีการต้อนรับกลุ่มข้าพเจ้าเป็นอย่างดี  ด้มีการจัดอาหารให้รับประทานก่อนการสัมภาษณ์หลักสูตรสถานศึกษา
       5.เวลาประมาณ  13.00 น. กลุ่มของข้าพเจ้าได้เริ่มการสัมภาษณ์  โดยมีอาจารย์  2 ท่าน คือ เป็นผู้ให้การสัมภาษณ์  ในการสัมภาษณ์มีหัวข้อดังต่อไปนี้ 
        5. 1    ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน มีอะไรบ้าง
               ประวัติโรงเรียน 
                  โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส  ตั้งอยู่หมู่ที่ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส  โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีอุปสรรคในการเข้ารับการศึกษาโดยเฉพาะเด็กที่ได้รับการยกเว้นตาม พ.ร.บ.ประถมศึกษาเช่น อยู่ห่างไกล ท้องถิ่นกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก กำพร้าบิดามารดา ขาดผู้อุปการะ หรือภัยคุกคาม โดยรับผิดชอบในเขตการการศึกษา 2 ประกอบด้วยจังหวัด ยะลา ปัตตานี สตูลและนราธิวาส ต่อมาในปีการศึกษา 2543 ทางโรงเรียนได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์การรับนักเรียนเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาสตามที่กระทรวง ศึกษาธิการกำหนด 10 ประเภท  เพื่อมุ่งให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา  และได้ขยายพื้นที่บริการการรับนักเรียนจากเดิมรับเฉพาะในเขต 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยรับนักเรียนจากจังหวัดสงขลา(อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอสะเดา   อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา)  เพิ่มอีก 1 จังหวัด   เมื่อปี พ.ศ.2513 ซึ่งเป็นระยะเริ่มก่อตั้งนั้น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส มีที่ดิน  220 ไร่    97 ตารางวา ซึ่งกรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย อนุญาตให้ใช้ที่ดินแห่งนี้  ต่อมาทางนิคมสร้างตนเองอำเภอแว้ง ขอที่ดินคืนเพื่อนำไปใช้เป็นที่ดินทำกินของเยาวชน ตามโครงการพระราชดำริสมเด็จพระ-เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี กรมป่าไม้ ขอใช้ที่ดินก่อสร้างสำนักงาน และบ้านพัก ปัจจุบันจึงเหลือพื้นที่อยู่ 190 ไร่ 1 งาน 42 ตารางวา
       วันที่ 8 มิถุนายน 2514 เป็นวันแรกที่เปิดเรียนโดยฯพณฯ นายอภัย จันทวิมล รมช. ระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้น เป็นประธานในพิธีเปิด โดยสังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  ซึ่งเป็นโรงเรียนให้นักเรียนอยู่ประจำ ในปีแรกนี้สามารถรับนักเรียนได้เพียง 41 คน มีครู-อาจารย์   2 ท่าน คือ
นายโสภณ อนันตโสภาจิตร์  ขณะนั้นดำรงตำแหน่งครูใหญ่และได้ครูจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดในขณะนั้นจัดสรรมาให้อีก 1 ท่านเข้ามาช่วยสอน  มีคนงานภารโรงเพียง 3 คน ต่อมาอีก 6 เดือน ได้ครูบรรจุเพิ่มมาอีก 2 ท่าน แล้วก็บรรจุมาเป็น 4 ท่าน ในเวลาต่อมาครูจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงขอกลับไปทำงานสถานที่เดิม

        ในปี 2514 นั้นเหตุการณ์ต่างๆยังไม่สงบนัก ครู-อาจารย์จึงต้องรักษาเวรยามอย่างเข้มแข็งถึงขั้นนอนในที่มีกำบังมิดชิดคล้ายบังเกอร์ โดยได้จัดขึ้นเป็นชุดๆและได้อาศัยความอุปการะด้านความปลอดภัยจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอแว้ง ที่ได้จัดส่งกำลังให้  รวมถึงชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงที่มาช่วยเหลือในการรักษาความปลอดภัยในเวลากลางคืน การพัฒนาด้านต่างๆได้ดำเนินเรื่อยมา จำนวนครู-อาจารย์  และคนงาน  ภารโรง
เพิ่มขึ้นมาเป็นลำดับ เหตุการณ์ต่างๆที่ไม่น่าไว้วางใจเริ่มสงบลง  ทำให้การพัฒนาด้านต่าง ๆ ราบรื่นขึ้น
        ในปี การศึกษา 2533  โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา  ให้เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีการศึกษา 2540 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4
       ปี พ.ศ. 2543 กองการศึกษาพิเศษได้แยกออกเป็นกองการศึกษาสงเคราะห์และกองการศึกษาเพื่อคนพิการ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส สังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์  กรมสามัญศึกษา
        ปี พ.ศ. 2546 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการตามปฏิรูปการศึกษา โดยโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต  2  และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
       ปีการศึกษา 2549  สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
ได้ปรับเขตพื้นที่บริการรับนักเรียนของโรงเรียนจากเดิม  5 จังหวัด เป็น จังหวัด คือ จังหวัดนราธิวาส
ยะลา ปัตตานี และจังหวัดสงขลา(อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอสะเดา   อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา) 
       ปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปัจจุบันโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส  ได้เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  จำนวน   25  ห้องเรียน
 
5. 2 ปรัชญา วิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายของโรงเรียน มีอะไร
             ปรัชญาของโรงเรียน
               การศึกษาช่วยพัฒนาชีวิต   ทุกคนมีสิทธิทัดเทียมกัน
             วิสัยทัศน์
              เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมุ่งพัฒนาเด็กด้อยโอกาส เน้นการเรียน วิชาชีพความสามารถพิเศษ คุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง เพื่อดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

            5.3 บริบท/ลักษณะของชุมชนหรือท้องถิ่นที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียนเป็นอย่างไร  และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร      อย่างไรบ้าง
                ส่วนใหญ่คนในชุมชนจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น  ทำนา ทำไร่ กรีดยาง เป็นต้น  สภาพแวดล้อมในท้องถิ่นมีลักษณะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  ทางโรงเรียนจึงกำหนดรายวิชาการอนุรักษ์ธรรมชาติและพันธุ์สัตว์ป่า และกำหนดรายวิชาข้าวไทย เพื่อสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม

               5.4 การพัฒนาหลักสูตรจากหลักสูตรแกนกลาง  51 สู่หลักสูตรสถานศึกษา  โรงเรียนของท่านมีกระบวนการการพัฒนาหลักสูตรอะไร  อย่างไร แต่ละกระบวนการมีอุปสรรค/ปัญหาอะไร  และแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
นำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มาวิเคราะห์ตัวชี้วัด เพื่อวิเคราะห์ kpa เพื่อหาความรู้ กระบวนการ และลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อมาจัดทำอธิบายรายวิชา ไปสู่หน่วยการเรียนรู้แล้วนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเลย
อุปสรรคและปัญหา คือ หลักสูตรสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 มาจนชิน แต่ต้องมาเปลี่ยนแปลงใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ทำให้ไม่ต่อเนื่องกัน
               5.5  ในแต่ละชั้นปี  มีรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอะไรบ้างที่โรงเรียนจัดให้แก่ผู้เรียน  และจุดเน้นของสถานศึกษาที่จัดรายวิชาเพิ่มเติมคืออะไร
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แบ่งระดับการเรียนอยู่ 3 ช่วงชั้น คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
หลักสูตรศึกษาเพิ่มเติมจะมีเฉพาะระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เช่น รายวิชาภาษาไทย และจะมีในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายศิลป์ เป็นต้น
            5.6 นอกจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง8 ด้าน และสมรรถนะสำคัญทั้ง 5ด้านแล้ว  หลักสูตรสถานศึกษาได้เพิ่มคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญเพิ่มหรือไม่  ถ้ามีการเพิ่มเติม   พิจารณาเกณฑ์หรือสิ่งใด
ทางโรงเรียนจะไม่เพิ่มชั่วโมงเรียน แต่ได้เพิ่มทักษะการดำรงชีวิต เนื่องจากเป็นโรงเรียนประจำ ตั้งแต่ตื่นเช้า เข้าแถว เคารพธงชาติ เก็บขยะ สวดมนต์ จนถึงเข้านอน
          5.7โรงเรียนจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆอะไรบ้างที่เป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน
-การอบรมค่ายคอมพิวเตอร์
-เสริมศักยภาพผู้เรียนเชิงวิชาการ
-การเข้าค่ายลูกเสือ-เนตรนารี นอกสถานที่
-การแข็งขันประกวดการทำหุ่นยนต์

                 5.8โรงเรียนมีนโยบายอย่างไรในการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน
ถ้าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน นำมาตรฐานตัวชี้วัดมาจัดแผนการเรียนรู้
                5.9หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนท่านมีกระบวนการประเมินผลหลักสูตรอย่างไร
คณะกรรมการหลักสูตรสถานศึกษาเครือข่ายโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ มาทำการวิจัยร่วมกัน

                5.10 ข้อคิดสำหรับนักศึกษาครูเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
ในการจัดการเรียนการสอนจะให้ได้ผลควรสอนให้ตรงกับตัวชี้วัดอย่ายึดหนังสือเท่านั้น เพราะหนังสือคือสื่อ ควรยึดตัวชี้วัดเป็นหลัก เพราะนักเรียนทุกคนมีพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน จะต้องแบ่งกลุ่มการเรียนการสอนเพื่อจะได้บรรลุผลในการเรียนการสอนและผ่านได้ทุกตัวชี้วัด
            6.เสร็จสิ้นการสัมภาษณ์เวลาประมาณ  14.10 น.
         7.กลุ่มของข้าพเจ้าได้ไปสังเกตการณ์สอนเพื่อให้สอดคล้องในหัวข้อการนำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การจัดการเรียนในห้องเรียน  โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้สังเกตการสอนของอาจารย์  สมจิตร  ทองยอด สอนวิชาภาษาไทย
         8.จากการสังเกตการณ์สอน   อาจารย์มีวิธีการสอนโดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ซึ่งอาจารย์จะให้นักเรียนช่วยกันแต่งกลอน แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนจากนั้นช่วยกันแปลความ ตีความหมายของกลอนแต่ละกลอนให้เข้าใจกันทุกคน  ซึ่งเป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักคิด  ช่วยกันภายในกลุ่ม ฝึกความกล้าแสดงออกของแต่ละคน
     9.หลังจากสังเกตการณ์สอนของอาจารย์ สมจิตร ทองยอด เสร็จสิ้น กลุ่มของข้าพเจ้าได้สัมภาษณ์อาจารย์ในหัวข้อดังต่อไปนี้
               1-ข้อมูลพื้นฐาน( ภูมิลำเนาเดิม ประวัติการศึกษา  ระยะเวลาปฏิบัติการสอนที่โรงเรียนแห่งนี้  ภาระหน้าที่  ระดับชั้น) มาอย่างคร่าวๆคือ
อาจารย์ตอบว่า-
      ชื่อนางสาว  สมจิตร  ทองยอด  ตำแหน่งครูผู้ช่วย จบการศึกษามัธยมปลายที่โรงเรียน วรนารีเฉลิมจังหวัดสงขลา และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  คณะครูศาสตร์ เอกภาษาไทย   ระยะเวลาที่ปฏิบัติการสอน เป็นเวลา 1 ปี  1เดือน โดยภาระหน้าที่สอนวิชาภาษาไทยเด็กนักเรียน  ม.2, ม.3  และสอนเพิ่มเติมอีกด้วย  
 
           2-จากหลักสูตรสถานศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน  ท่านมีกระบานการนำหลักสูตรไปใช้อย่างไร
            อาจารย์ตอบว่า-
              “ ขั้นแรกต้องศึกษาดูเนื้อหาในแต่ละชั้นที่กำหนดให้นั้นมีอะไรบ้าง แล้วดูว่าตรงกับเนื้อหาในหลักสูตรหรือไม่ แล้วนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน  โดยเน้นให้เด็กมีมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่
               3-ท่านมีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้  ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประอย่างไรบ้าง
      อาจารย์ตอบว่า-
                             “ การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วม  และมีความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน มีความรู้มากเท่าไรก็เผื่อแผ่ให้เด็กอย่างมากที่สุด
                   4-ผู้เรียนส่วนใหญ่ที่ท่านรับผิดชอบมีลักษณะอย่างไร  ถ้าพบปัญหาหรืออุปสรรค ท่านแก้ปัญหาอย่างไร
      อาจารย์ตอบว่า-
ปัญหาที่พบเจอกับผู้เรียน  คือ  เด็กส่วนใหญ่พูดภาไทยไม่ค่อยชัด  วิธีการแก้ไข คือ ครูต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องภาษาที่ใช้ในการพูดของเด็กนักเรียน  ต้องฝึกฝนให้เด็กพูดภาษาไทยให้ชัด และบังคับให้ใช้ภาษาไทยใช้ในการสนทนาในชีวิตประจำวัน  เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับภาษาไทย  และที่สำคัญครูผู้สอนต้องพูดภาษาไทยให้ชัดเพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่นักเรียนในการเรียนการสอน
                  5-ชุมชนในท้องถิ่นได้มีบทบาทหรือส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้หรือไม่  อย่างไร
      อาจารย์ตอบว่า-
                “ ชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษา โดยมีกรรมการสถานศึกษามาประชุมชี้แจง  เกี่ยวกับการแจ้งกำหนดการต่างๆ ซึ่งจะมีการเชิญผู้นำท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน  กำนัน เป็นต้น  และมีการให้เด็กนักเรียนไปศึกษาความรู้จากผู้ที่มีความรู้ ในท้องถิ่น เช่น  วิธีการจักสาน  การทำขนมสมัยโบราณ เป็นต้น

                     6-ข้อคิดเกี่ยวกับนักศึกษาครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้
               อาจารย์ตอบว่า-
                   คุณครูทุกคนต้องมีใจรักในการเป็นครู   รู้จักถ่ายทอดให้ได้มากที่สุด  ความสำเร็จของคุณครูทุกคนอยู่ที่เด็ก หากเด็กประสบความสำเร็จ  ก็ ถือว่าครูก็ประสบผลสำเร็จในการสอน
   10.เมื่อทำการสัมภาษณ์เสร็จสิ้นแล้ว คณะอาจารย์ได้พากลุ่มของข้าพเจ้าไปพักที่ป่าฮาลาบาลา เนื่องจากวันนี้ทางโรงเรียนได้พานักเรียนไปเข้าค่าย  กลุ่มของข้าพเจ้าจึงมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
   11.  กลุ่มของข้าพเจ้าได้เดินทางกลับในวันที่  12  มกราคม 2554  เวลาประมาณ 11.00น.หลังจากรับประทานอาหารเช้ากับทางคณะอาจารย์เสร็จแล้ว  ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้เดินทางกลับกับรถไฟ
คลิ๊กดูรูปคลิ๊กดูรูปคลิ๊กดูรูป