ประเภทของหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตรหรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า รูปแบบของหลักสูตรในปัจจุบันมีผู้กำหนดประเภทของหลักสูตรออกเป็นหลายประเภท แล้วแต่แนวคิดของแต่ละคน ซึ่งมีความหมายที่ตรงกันคือ เพื่อให้ประสบการณ์กับผู้เรียน แต่การกำหนอประเภทของหลักสูตรว่าเป็นประเภทใกนั้นขึ้นอยู่กับการตอยสนองผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการเรียนการสอน และสถานการณ์ต่างๆที่เหมาะสม การที่จะเลือกใช้หลักสูตรผระเภทใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์และจุดหมายปลายทางของการจัดการศึกษาในแต่ละประเภทและระดับการศึกษาเป็นสำคัญ ซึ่งประเภทของหลักสูตรอาจแบ่งได้คือ
ประเภทที่ยึดเอาสาขาวิชาและเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
หลักสูตรนี้ทั้งครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจะเคยชินกับหลักสูตรประเภทนี้เป็นอย่างมาก คือเมื่อมีการจัดทำหลักสูตรแล้วจะพิจารณาหลักสูตรประเภทนี้ก่อนประเภทอื่น หลักสูตรประเภทนี้เป็นหลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอุดมศึกษามากกว่าในระดับอื่น เนื่องมีการจัดการเรียนการสอนด้วยการบรรยายและใช้ระบบแบบเรียนหรือตำราเรียนเป็นหลัก ซึ่งสามารถแยกได้เป็น
1.1 หลักสูตรแยกรายวิชาหรือเนื้หาวิชา จะแบ่งแยกรายวิชาออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้เห็นรายวิชาและเนื้อหสาระเฉพาะอย่างจะเป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนได้รับความรู้เพียงอย่างเดียว และความรู้นัน้เกิดจากการท่องจำเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะนำไปวิเคราะห์หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยเพาะไม่มีเวลาที่จะฝึกฝนทางด้านอื่นๆนอกจากการท่องจำ ซึ่งหลักสูตรประเภทนี้ได้ใช้เป็นเวลานานและบางแห่งก็ยังใช้อยู่
1.2 หลักสูตรสหพันธ์หรือหลักสูตรสัมพันธ์วิชา เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากหลักสูตรแยกรายวิชาด้วยการรวมเอาส่วนที่เหมือนกันทั้งในด้านลักษณะของวิชา คุณค่าและความสำคัญของวิชา และในส่วนที่มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องมาไว้ด้วยกัน 1.3 หลักสูตรหลอมรวมวิชา เป็นหลักสูตรที่นำเอาวิชาที่มีความใกล้คัยงกันมาหลอมรวมกันแล้วจัดขึ้นเป็นรายวิชาใหม่ เช่น นะวิชาสัตว์ศาสตร์ กับวิชาพืชศาสตร์ เข้าหลอมรวมด้วยกันกลายเป็ยวิชาชีววิทยา เป็นต้นซึ่งหลักสูตรการหลอมรวมวิชาจะมีความคล่องตัวและความยืดหยุ่นูง ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เรียนรู้พื้นฐานความรู้ต่างๆ ที่เหมาะสมและตามความต้องการของผู้เรียน
1.4 หลักสูตรแกนวิชา เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อการรวบรวมเนื้หาความรู้และประสบการณ์ให้มีความสัมพันธ์และผสมผสานกันแต่มีวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นวิชาหลักหรือวิชาแกน ซึ่งวิชาหลักนั้นเป้นวิชาที่ผู้เรียนมีความจำเป็นที่จะต้องรู้เพื่อการเรียนรู้พื้นฐานวิชาต่างๆอันเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของตนเอง
2. หลักสูตรที่ยึดเอาผู้เรียนเป็นหลัก
หลักสูตรชนิดนี้เป็นหลักสูตรที่ได้ยึดถือมานาน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน จึงต้องยึดถือเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและอาศัยประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นส่วนใหญ่ ในการกำหนดหลักสูตรการอาศัยประสบการณ์ของผู้เรียนได้นำมาใช้กับการจัดหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งรายละเอียดแบ่งออกเป็น
2.1 หลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นหลักสูตรที่ว่าด้วยหลักการที่ว่า มนุษย์ทุกคนจะมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นในการจัดทำหลักสูตรจึงกำหนดให้คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งในหนึ่งวิชาอาจจะมีหลักสูตรที่แตกต่างกันอกไปทั้งในด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน คือหลักสูตรต้องมีการกำหนดให้เลือกได้และเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ซึ่งในหลักสูตรจะมีการจัดเนื้อหา การจัดกิจกรรม หรือสื่อการเรียนการสอนท่หลายชนิด รวมทั้งจัดครูผู้สอนที่หลายรูปแบบด้วย
2.2 หลักสูตรประสบการณ์ ใช้กันมากในการจัดหลักสูตรระดับประถมศึกษา หลักสูตรประเภทนี้อยู่บนพื้นฐานที่ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมา ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนได้ การจัดการหลักสูตรจึงเป็นการจัดเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และให้ผู้เรียนรู้จักการแก้ปัญหา
2.3 หลักสูตรบูรณาการ เป็นหลักสูตรที่นักพัฒนา ได้นำมาใช้ในหลักสูตรประถมศึกษา ด้วยการมุ่งหวังว่า ประสบการณ์ที่จัดไว้ในหลักสูตร เป็นการทำให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการดำรงชีวิตการจัดประมวลประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่เห็นสมควรให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และสร้างเสริมประสบการณ์ให้มากยิ่งขึ้น
3. หลักสูตรที่ยึดเอากระบวนการทางทักษะเป็นหลัก
หลักสูตรประเภทนี้จะมุ่งเน้นในการพัฒนาทักษะของกระบวนการเรียน ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ของผู้เรียนอย่างมีระบบ เช่น การจัดหลักสูตรทักษะทางคณิตศาสตร์ และหลักสูตรทักษะทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งยึดการฝึกทักษะให้กับผู้เรียน ด้วยการให้ผู้เรียนได้คิดค้นคว้าความรู้ และฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็นทักษะ การกำหนดหลักการและความรู้ให้กับผู้เรียนจะเป็นเพียงการเสนอแนวทางเท่านั้น ส่วนผลการปฏิบัติและการฝึกฝนจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งใหม่ๆเอง ดังนั้น หลักสูตรกระบวนการทางทักษะจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนที่มีทักษะในการเรียนและสามารถควบคุมตนเองได้
การกำหนด รูปแบบของหลักสูตร หรือ ประเภทของหลักสูตร หรือ หลักสูตรแบบต่างๆเป็นการพิจารณาเลือกและจัดเนื้อหาวิชาของหลักสูตรให้สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรซึ่ง การเลือกและการจัดเนื้อหาสาระจะเป็นอย่างไรนั้นจะขึ้นอยู่กับความชื่อที่ว่า รูปแบบนันจะช่วยให้ครูสามารถนำผู้เรียนไปส่จุดหมายปลายทางของหลักสูตจรได้ดีที่สุดเพียงใด
ในขณะเดียวกันการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียนจะต้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและลักษณะของเนื้อหาวิชาด้วย ดังนั้น หลักสูตรแต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ คือ
1. จุดกมายเน้นในเรื่องที่ต่างกัน
2. เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุในหลักสูตรใช้เกณฑ์การเลือกต่างกัน
3. การจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ยึดหลักต่างกัน
4. เน้นวิธีการสอนและการเรียนที่แตกต่างกัน
5. เน้นการประเมินผลกาเรียนในประเด็นต่างกัน ตามจุดหายของหลักสูตรแต่ละแบบ
รูปแบบของหลักสูตรที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป 6 แบบซึ่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะสำคัญ จุดเด่น และจุดด้อย ดังต่อไปนี้
1หลักสูตรแบบรายวิชา (Subject Curriculum)
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร เน้นการถ่ายทอเนื้อหาสาระ ความแม่นยำทางวิชาการเป็นสำคัญ การจัดเนื้อหาวิชา จัดแยกออเป็นวิชาย่อยๆ ซึ่งแต่ละวิชาไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งในด้านเนื้อหาและการสอน เช่น จัดเป็นวิชา อ่านไทย เขียนไทย เรียงความ จดหมาย อ่านเอาเรื่อง หลักภาษา ไวยกรณ์ เคมีชีววิทยา ฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่ผลเมือง ศิลธรรม ฯลฯ เป็นต้น และสำคัญคือ ได้จัดเรียงลำดับเนื้อหาวิชาไว้เป็นอย่างดีเพื่อการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ ระเบียบ ทำให้การสอนดำเนินไปตามลำดับของความรู้ การเรียนการสอน
2หลักสูตรแบบกว้าง หรือแบบหมวดวิชา (Broad-fields Curriculum)
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร มุ่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนรู้รอบ หรือรู้กว้างขึ้น การจัดเนื้อหาวิชาจากรายวิชาต่างๆ ที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกันเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีขอบเขต กว้างขึ้น และให้มีความสัมพันธ์ระหว่างวิชามากขึ้น ในลักษณะของหมวดวิชา เช่น เลือกเนื้อหาวิชา จากวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่ผลเมือง และศิลธรรม มารวมกันเป็นหมวดวิชาสังคมศึกษาเพื่อให้เกิดการผสมผสานความรู้ แต่ในการจัดการเรียการสอนยังคงมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการแต่มีขอบเขตเนื้อหาที่กว้างขึ้นกว่าหลักสูตรแบบรายวิชา การประเมินผลการเรียน ก็คงเน้นด้านความรู้ความจำเป็นสำคัญ ตัวอย่างของหลักสูตรแบบหมวดวิชา คือ หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา พ.ศ. 2503
3.หลักสูตรแบบแกน (Core Curriculum)
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร เน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและความสนใจของผู้เรียน จากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมผู้เรียน การจัดเนื้อหาวิชา ไมแยกออกเป็นรายวิชา หรือรวมกันเป็นหมวดวิชา แต่จะเลือกเนื้อหาวิชาจากสาขาวิชาต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาหรือหัวเรื่อง หรือแกนที่กำหนดขึ้น การกำหนดแกนอาจทำได้โดย ใช้วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกน หรือใช้ความต้องการของผู้เรียนเป็นแกนหรือใช้กิจกรรมในสังคมเป็นแกนก็ได้ การเรียนการสอน จะเน้นให้มีการผสมผสานความรู้จากหลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกว่าบูรณาการในการสอน (Integration) การประเมินผล เน้นการปฏิบัติจริง การนำไปใช้
หลักสูตรแบบแกนนี้ เป็นรากฐานอันสำคัญก่อให้เกิด หลักสูตรแบบหน่วยกิต ซึ่งนิยมใช้ในระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เช่น กำหนดให้มีวิชาบังคับสำหรับทุกคน มีวิชาเลือกตามความถนัด ความสนใจของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนไดเลือกมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
4.หลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์ (Acitivty and Experience Curriclum)
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร เน้นผู้เรียนไปตามความต้องการความสนใจและความสามารถของผู้เรียน การจัดเนื้อหาวิชา ยืดหยุ่นไปตามความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน โดยนิยมจัดเป็นหน่วยประสบการณ์ เข่น ชีวิตในบ้าน ชุมชนของเรา เป็นต้น การเรียนการสอน เน้นประสบการณ์และกิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่มและการแก้ปัญหาเป็นหลัก การประเมินผล ให้ความสำคัญกับพัฒนาของตัวผู้เรียนมากกว่าปริมาณของความรู้ ความจำในเนื้อหาวิชา
5.หลักสูตรแบบเพื่อชีวิตและสังคม
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร เน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตในการพัฒนาตนเองและปรับปรุงแก้ไขปัญหาของสังคม การจัดเนื้อหาวิชา จะนำเอาสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม และชีวิตจริงผู้เรียนกำลังประสบอยู่มาเรียนกันโดยตรง เป็นหลักสูตรที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของคนในสังคมนั้นโดยตรง การเรียนการสอน เน้นการปฏิบัติ การแก้ปัญหา บทบาทสมมุติ การใช้สถานการณ์จำลอง และความร่วมมือในการทำงาน การประเมินผล เน้นความสามารถในการปรับปรุงตนเอง และการสร้างสรรค์สังคม
6.หลักสูตรแบบสมรรถภาพเฉพาะด้าน
ลักษณะสำคัญ จุดหมายของหลักสูตร เน้นความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การจัดเนื้อหาวิชา จะเน้น การจัดระบบข้อมูลความรู้เรียงตามลำดับจากพื้นฐานไปสู่เนื้อหาที่ลึกซึ้งขึ้น การเรียนการสอน เน้นการให้ความรู้พื้นฐานควบคู่กับการฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญบทบาทของครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ประสานงาน และตรวจสอบสมรรถภาพของผู้เรียนว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในจุดหมายเพียงใด การประเมินผล เน้นความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นประการสำคัญ
สรุป
เมื่อพิจารณารูปแบบของหลักสูตรที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าหลักสูตรแต่ละรูปแบบ จึงเป็นการยากที่จะตัดสินใจว่าหลักสูตรแบบใดดีที่สุด เพราะการวิเคราะห์หลักสูตรว่าฉบับใดดี หรือเหมาะสมหรือไม่เพียงใดนั้น ต้องคำนึงถึงระดับในการจัดการศึกษา สภาพเปลี่ยนแปลงไป หลักสูตรที่เหมาะสมกับยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง ก็ย่อมไม่เหมาะกับอีกยุคสมัยหนึ่ง จึงต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ จะไม่มีรูปแบบของหลักสูตรรูปแบบใดแต่เพียงรูปแบบเดียวที่ทีความหมายสมกับการจัดเนื้อหาสาระทั้งหมดในแต่ละหลักสูตร และหากได้ใช้จัดเนื้อหาสาระในหลาย ๆ รูปแบบ ในหลักสูตรฉบับเดียวกันก็จะช่วยให้ผู้เรียนได้พบความแปลกใหม่เร้าความสนใจของผู้เรียนโดยตลอดหลักสูตร