วิธีการดำการวิจัย


การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จ.นราธิวาส on PhotoPeach


การพัฒนาหลักสูตร ภาษาไทยB
View more presentations from SOOREETA

การศึกษาค้นคว้า
ก่อนที่จะมีการลงพื้นที่ อ.วิภาพรรณ ได้ชี้แจงหัวข้อต่างๆ ที่เราต้องศึกษาและเก็บข้อมูล ทั้งนี้ยัง อบรมถึงมารยาท และการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม ตั้งแต่การขออนุญาตไปศึกษา การนัดสัมภาษณ์ การถ่ายวิดีโอ รวมถึงการขออนุญาตนำข้อมูลเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต
การติดต่อขออนุญาต
ในตอนแรกตัวแทนกลุ่มได้ติดต่อกับทางโรงเรียนด้วยตัวเองแล้ว หลังจากนั้นอ.วิภาพรรณได้อาสาจะทำหนังสือขออนุญาตให้ หลังจากที่ทางคณะได้ส่งหนังสือไปแล้ว ทางโรงเรียนที่เราจะไปศึกษาก็ยินดีที่จะอนุญาตให้นักศึกษาได้ไปศึกษาหลักสูตรของสถานศึกษาของโรงเรียนเขา
การเดินทางไปสัมภาษณ์
เนื่องจากว่าโรงเรียนที่พวกเราเลือกไปศึกษา คือ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาสตั้งอยู่ไกลอยู่ไกล ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางถึงครึ่งวัน พวกเราเลือกที่จะเดินทางโดยรถไฟ โดยขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟจะนะเวลา 07.00 น. ถึงสถานีปลายทางสุไหงโกลกเวลา 10.00 น.
จากนั้นพวกเราก็ต้องโดยสารรถสองแถวไปยังโรงเรียนอีกครั้งหนึ่งซึ่งโรงเรียนดังกล่าวตั้งอยู่ที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ถนนที่เราต้องผ่านนั้นอยู่ระหว่างการสร้างใหม่ จึงทำให้การเดินทางช้าลง การเดินทางสิ้นสุดลงเมื่อไปถึงหน้าโรงเรียนเป็นเวลาเที่ยงพอดี
เมื่อถึงที่โรงเรียนแล้ว มีคณะครูที่ประจำห้องวิชาการต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดี และได้ชี้แจงกับพวกเราว่า ตอนเที่ยงคุณครูทุกคนต้องเข้าประชุม ดังนั้นให้พวกเราไปพักรับประทานอาหารที่ได้เตรียมไว้ก่อนแล้วค่อยกลับมาสัมภาษณ์ในตอนบ่าย
บรรยากาศการสัมภาษณ์นั้นก็เป็นไปอย่างราบรื่นคุณครูผู้ให้สัมภาษณ์เป็นกันเองทำให้ลดความประหม่าของพวกเราได้ แต่เนื่องจากว่าสมาชิกในกลุ่มของพวกเรามีหลายคน อ.วิภาพรรณ จึงมอบงานอีกชิ้นหนึ่ง คือ ให้สังเกตการสอนในรายวิชาภาษาไทย โดยให้ถ่ายวิดีโอด้วย จากนั้นพวกเราก็ได้สัมภาษณ์คุณครูที่สอนวิชาภาษาไทยที่เราได้ไปสังเกตมาด้วย




จากการสังเกตการณ์สอน อาจารย์มีวิธีการสอนโดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ซึ่งอาจารย์จะให้นักเรียนช่วยกันแต่งกลอน แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนจากนั้นช่วยกันแปลความ ตีความหมายของกลอนแต่ละกลอนให้เข้าใจกันทุกคน ซึ่งเป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักคิด ช่วยกันภายในกลุ่ม ฝึกความกล้าแสดงออกของแต่ละคน
หลังจากสังเกตการณ์สอนของอาจารย์ สมจิตร ทองยอด เสร็จสิ้น กลุ่มของข้าพเจ้าได้สัมภาษณ์อาจารย์ในหัวข้อดังต่อไปนี้
1-ข้อมูลพื้นฐาน (ภูมิลำเนาเดิม ประวัติการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติการสอนที่โรงเรียนแห่งนี้ ภาระหน้าที่ ระดับชั้น) มาอย่างคร่าวๆคือ
อาจารย์ตอบว่า-
“ชื่อนางสาว สมจิตร ทองยอด ตำแหน่งครูผู้ช่วย จบการศึกษามัธยมปลายที่โรงเรียน วรนารีเฉลิมจังหวัดสงขลา และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คณะครูศาสตร์ เอกภาษาไทย ระยะเวลาที่ปฏิบัติการสอน เป็นเวลา 1 ปี 10เดือน โดยภาระหน้าที่สอนวิชาภาษาไทยเด็กนักเรียน ม.2, ม.3 และสอนเพิ่มเติมอีกด้วย”
2-จากหลักสูตรสถานศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน ท่านมีกระบานการนำหลักสูตรไปใช้อย่างไร
อาจารย์ตอบว่า-
“ขั้นแรกต้องศึกษาดูเนื้อหาในแต่ละชั้นที่กำหนดให้นั้นมีอะไรบ้าง แล้วดูว่าตรงกับเนื้อหาในหลักสูตรหรือไม่ แล้วนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน โดยเน้นให้เด็กมีมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่”


3-ท่านมีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประอย่างไรบ้าง
อาจารย์ตอบว่า-
“การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วม และมีความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน มีความรู้มากเท่าไรก็เผื่อแผ่ให้เด็กอย่างมากที่สุด”
4-ผู้เรียนส่วนใหญ่ที่ท่านรับผิดชอบมีลักษณะอย่างไร ถ้าพบปัญหาหรืออุปสรรค ท่านแก้ปัญหาอย่างไร
อาจารย์ตอบว่า-
“ปัญหาที่พบเจอกับผู้เรียน คือ เด็กส่วนใหญ่พูดภาไทยไม่ค่อยชัด วิธีการแก้ไข คือ ครูต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องภาษาที่ใช้ในการพูดของเด็กนักเรียน ต้องฝึกฝนให้เด็กพูดภาษาไทยให้ชัด และบังคับให้ใช้ภาษาไทยใช้ในการสนทนาในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับภาษาไทย และที่สำคัญครูผู้สอนต้องพูดภาษาไทยให้ชัดเพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่นักเรียนในการเรียนการสอน”
5-ชุมชนในท้องถิ่นได้มีบทบาทหรือส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ อย่างไร
อาจารย์ตอบว่า-
“ ชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษา โดยมีกรรมการสถานศึกษามาประชุมชี้แจง เกี่ยวกับการแจ้งกำหนดการต่างๆ ซึ่งจะมีการเชิญผู้นำท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นต้น และมีการให้เด็กนักเรียนไปศึกษาความรู้จากผู้ที่มีความรู้ ในท้องถิ่น เช่น วิธีการจักสาน การทำขนมสมัยโบราณ เป็นต้น”
6-ข้อคิดเกี่ยวกับนักศึกษาครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้
อาจารย์ตอบว่า
“ คุณครูทุกคนต้องมีใจรักในการเป็นครู รู้จักถ่ายทอดให้ได้มากที่สุด ความสำเร็จของคุณครูทุกคนอยู่ที่เด็ก หากเด็กประสบความสำเร็จ ก็ ถือว่าครูก็ประสบผลสำเร็จในการสอน”
เมื่อทำการสัมภาษณ์เสร็จสิ้นแล้ว คณะอาจารย์ได้พากลุ่มของข้าพเจ้าไปพักที่ป่าฮาลาบาลา เนื่องจากวันนี้ทางโรงเรียนได้พานักเรียนไปเข้าค่าย กลุ่มของข้าพเจ้าจึงมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
กลุ่มของข้าพเจ้าได้เดินทางกลับในวันที่ 12 มกราคม 2554 เวลาประมาณ 11.00น.หลังจากรับประทานอาหารเช้ากับทางคณะอาจารย์เสร็จแล้ว ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้เดินทางกลับกับรถไฟ

คลิ๊กดูรูป