ทฤษฎีหลักสูตร
การศึกษาเป็นกระบวนการการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ให้เป็นผู้มีความรู้มีประสบการณ์และมีทักษะในการพัฒนาตนเองให้เจริญงอกงาม นักศึกษาทุกยุคทุกสมัยได้พยายามคิดค้นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของมนุษย์ ซึ่งในทางศาสนาพุทธก็ถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ ได้กำหนดทฤษฎีทางการศึกษาให้มนุษย์ได้นำมาใช้กับการศึกษาหาความรู้คือ การเข้าสู่พระนิพพาน เช่นเดียวกับองค์สาสดาอื่นๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสาอิสลาม ก็ได้กำหนอทฤษฎีต่างๆ เพื่อให้มนุษย์ได้เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย ต่อมาก็ได้มีนักการศึกาโดยเฉพาะที่ได้กำหนดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และเป็นพื้นฐานให้เกิดการเรียนรู้ของมนุษย์ตลอดมาจนกระทั่งในปัจจุบัน ก็ยังมีนักการศึกษาที่ได้พยายามคิดค้นทฤษฎีทางการศึกษาขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับยุคสมัยล
ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหารการศึกษา
การบริหารถือว่าเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีทฤษฎีการบริหารกำกับอยู่จำนวนมาก เพราะนักบริหารได้กำหนดทฤษฎีที่เป็นสิ่งที่ได้ค้นคว้าทดลองมา จนกระทั่งรวบรวมนำมาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งในบางครั้งนักการศึกษาคิดว่าการบริหารการศึกษาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยการใช้ประสบการณ์ ในการทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษาและนำประสบการณ์นั้นมาบริหารการศึกษา
ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ที่นักจิตวิทยาได้คิดค้นขึ้นมาใช้กับการจัดการศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้เหล่านั้นได้ถูกทกลองทั้งกับสัตว์และกับเด้ก และผู้ใหญ่หลายรูปแบบ จนกระทั่งเกิดความแน่ใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแน่นอนแล้ว นักจิตวิทยาจึงได้นำมาใช้กับการจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับการศึกษา
ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการวิจัยการศึกษา
นักการศึกษาจำเป็นต้องมีความสนใจกับการวิจัยโดยเฉพาะผลของการวิจัยที่นักวิจัยได้นำออกมาเผยแพร่ นักการศึกษาจะต้องให้ความเอาใจใส่ และนำมาใช้กับการจัดการศึกษาในขณะเดียวกันความจำเป็นของนักการศึกษาในการใช้ผลงานวิจัยจึงต้องสามารถอ่านผลการวิจัยได้ถึงแม้ว่านักการศึกษาจะไม่สามารถทำการวิจัยได้โดยตรงก็ตาม การวิจัยจึงเป็นผลอีกอย่างหนึ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องนำมาใช้เพื่อการจัดทำหลักสูตร ผลการวิจัยที่นำมาใช้ในการจัดทำหลักสูตรจะมาจากรากฐานทฤษฎีการวิจัยเฮอร์เบอร์ท ไฟเจล
(Herbert Feigl อ้างจาก เจริญผล สุวรรณโชติ 2530 : 4) กล่าวว่า "ทฤษฎี คือ การกำหนดข้อสันนิษฐานซึ่งได้รับมาจากวิธีการของตรรกวิทยาคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดกฎเกณฑ์ที่ได้มาจากการทดลอง และการทดลองมิใช่เกิดจากการเรียนรู้จากที่หนึ่งที่ใด"
โลแกน และโอลม สเตด
(Logan and Olmstead อ้างถึง สันต์ ธรรมบำรุง 2527 : 97) ได้ให้ความหมายว่า ทฤษฎี หมายถึงข้อความหนึ่งข้อความใดที่กำหนดไว้อย่างมีเหตุผล เช่อถือได้ และได้มีการถกถียงกันมาก่อน ก่อนที่จะลงความเห็นว่าสมควรที่จะกำหนดเรียนว่า "ทฤษฎี"
เฟรด เคสลินเกอร์
(Fred N. Keslinger อ้างถึง สันต์ ธรรมบำรุง , 2527 : 97) "ทฤษฎี คือ การผสมผสานของความคิดรวบยอดที่แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ที่มีระบบ และเกิดความจริงจนสามารถพิสูจน์ได้"
สำหรับทฤษฎีหลักสูตร อาจจะเป็นสิ่งที่นักการศึกษาไม่คิดว่า ทฤษฎีหลักสูตรนั้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาจะต้องยึดถือเมื่อมีการพัฒนาหลักสูตรในแต่ละครั้ง ด้วยหลักการของการกำหนดทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ